วีดิทัศน์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงใฝ่พระทัยในการทรงงานต่างๆสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถมาโดยตลอดนับแต่เมื่อทรงเจริญพระชนมายุ เป็นต้นมา ทรงแบ่งเบาพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งด้านการเกษตร การชลประทาน การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาราษฎรทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายประการอัน เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ
พระอัจฉริยะภาพด้านพระราชนิพนธ์
ด้านพระราชนิพนธ์
พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่างๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่าง ประเทศ เช่น เกล็ดหิมะในสายหมอก ทัศนะจากอินเดีย มนต์รักทะเลใต้ ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กษัตริยานุสรณ์ หนังสือสำหรับเยาวชน เช่น แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย เช่น สมเด็จแม่กับการศึกษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการ ศึกษา ประเภทพระราชนิพนธ์แปล เช่น หยกใสร่ายคำ ความคิดคำนึง เก็จแก้วประกายกวี และหนังสือทั่วไป เช่น นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ) เรื่องของคนแขนหัก เป็นต้น และมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นอกจากจะแสดงพระอารมณ์ขันแล้ว ยังทรงแสดงการวิพากษ์ วิจารณ์ในแง่ต่างๆ เป็นการแสดงพระมติส่วนพระองค์
นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรง
พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่างๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่าง ประเทศ เช่น เกล็ดหิมะในสายหมอก ทัศนะจากอินเดีย มนต์รักทะเลใต้ ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กษัตริยานุสรณ์ หนังสือสำหรับเยาวชน เช่น แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย เช่น สมเด็จแม่กับการศึกษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการ ศึกษา ประเภทพระราชนิพนธ์แปล เช่น หยกใสร่ายคำ ความคิดคำนึง เก็จแก้วประกายกวี และหนังสือทั่วไป เช่น นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ) เรื่องของคนแขนหัก เป็นต้น และมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นอกจากจะแสดงพระอารมณ์ขันแล้ว ยังทรงแสดงการวิพากษ์ วิจารณ์ในแง่ต่างๆ เป็นการแสดงพระมติส่วนพระองค์
นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรง
พระอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
ด้านดนตรี
พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียน รวมทั้ง งานวันคืนสู่เหย้าร่วมกับวงดนตรีจิตรลดาของโรงเรียนจิตรลดาด้วย หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมรสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ อักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่นๆ ด้วย
ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เครื่องดนตรีที่ทรงสนพระทัยนั้น
พระอัจฉริยภาพ ด้านภาษา
ด้านภาษา
พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีน และทรงกำลังศึกษา ภาษาเยอรมัน และภาษาลาตินอีกด้วย ขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่างๆ พระราชทาน และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่างๆ หลายตอน ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย
เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอด
วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา
องค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวาย
การประสูติ และทรงมีพระนามที่บรรดาข้าราชบริพารเรียกกันทั่วไปว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"
พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวาย
การประสูติ และทรงมีพระนามที่บรรดาข้าราชบริพารเรียกกันทั่วไปว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มการศึกษาระดับ
อนุบาลในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ที่โรงเรียนจิตรลดา ในบริเวณพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๓ พระชันษาเศษ ทรงมีพระสหายร่วมชั้นเรียน
อีก ๒๐ คน ซึ่งมาจากบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็ก
ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้มาร่วมเรียนด้วยโดยปราศจากชั้นวรรณะ วิชาที่ทรงศึกษา
ในชั้นอนุบาลนี้ คือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขคณิต และขับร้อง พระอาจารย์ที่ถวาย
พระอักษรขณะนั้นได้แก่ อาจารย์ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์, อาจารย์คุณหญิงอังกาบ
บุณยัษฐิติ และอาจารย์คุณหญิงสุนามัน ประนิช ทั้งนี้ปรากฎว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดโรงเรียน พระอาจารย์ และ
พระสหายเป็นอันดี
อนุบาลในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ที่โรงเรียนจิตรลดา ในบริเวณพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๓ พระชันษาเศษ ทรงมีพระสหายร่วมชั้นเรียน
อีก ๒๐ คน ซึ่งมาจากบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็ก
ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้มาร่วมเรียนด้วยโดยปราศจากชั้นวรรณะ วิชาที่ทรงศึกษา
ในชั้นอนุบาลนี้ คือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขคณิต และขับร้อง พระอาจารย์ที่ถวาย
พระอักษรขณะนั้นได้แก่ อาจารย์ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์, อาจารย์คุณหญิงอังกาบ
บุณยัษฐิติ และอาจารย์คุณหญิงสุนามัน ประนิช ทั้งนี้ปรากฎว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดโรงเรียน พระอาจารย์ และ
พระสหายเป็นอันดี
เมื่อทรงเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ได้ทรงสอบร่วมกับนักเรียนทั่วประเทศ
โดยใช้ข้อสอบกระทรวงศึกษาธิการ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงสอบได้ที่หนึ่ง ได้คะแนนรวมร้อยละ ๙๖.๖๐ อันเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่เจ็ด จึงทรงได้รับพระราชทานรางวัลเรียนดีจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๓๑ ณ
กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๑๑ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นี้ เป็นที่ทราบกัน
โดยทั่วไปว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาสามารถ
ในวิชาแทบทุกด้าน เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รำไทย
ดนตรีไทย และวาดเขียน เป็นต้น ซึ่งมักจะทรงได้คะแนนมากว่าพระสหายในชั้นเดียวกัน
อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังโปรดทรงหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และทรงพระปรีชาสามารถ
ในทางร้อยแก้วและร้อยกรองอย่างยิ่ง ทรงเริ่มบทพระนิพนธ์ต่างๆตั้งแต่เมื่อทรง
พระชนมายุได้เพียง ๑๒ พระชันษา เป็นต้นมา บทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์
แพร่หลายในหนังสือหลายเล่ม ตัวอย่างเช่น "อยุธยา" "เจ้าครอกวัดโพธิ์" " ศาสนาเกิดขึ้น
ได้อย่างไร" เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ"พุทธศาสนสุภาษิตคำโคลง"
ซึ่งทรงถอดมาจากภาษาบาลี และ "กษัตริยานุสรณ์" ซึ่งทรงทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนาง
เจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๑๖ (ขณะนั้นสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๘ พระชันษา)
cr บทความ : http://www.cad.go.th/50years/history1.html
cr วิดิโอ : http://www.oknation.net/blog/thaithai/2012/11/29/entry-1
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)