สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา
องค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวาย
การประสูติ และทรงมีพระนามที่บรรดาข้าราชบริพารเรียกกันทั่วไปว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"
พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวาย
การประสูติ และทรงมีพระนามที่บรรดาข้าราชบริพารเรียกกันทั่วไปว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มการศึกษาระดับ
อนุบาลในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ที่โรงเรียนจิตรลดา ในบริเวณพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๓ พระชันษาเศษ ทรงมีพระสหายร่วมชั้นเรียน
อีก ๒๐ คน ซึ่งมาจากบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็ก
ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้มาร่วมเรียนด้วยโดยปราศจากชั้นวรรณะ วิชาที่ทรงศึกษา
ในชั้นอนุบาลนี้ คือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขคณิต และขับร้อง พระอาจารย์ที่ถวาย
พระอักษรขณะนั้นได้แก่ อาจารย์ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์, อาจารย์คุณหญิงอังกาบ
บุณยัษฐิติ และอาจารย์คุณหญิงสุนามัน ประนิช ทั้งนี้ปรากฎว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดโรงเรียน พระอาจารย์ และ
พระสหายเป็นอันดี
อนุบาลในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ที่โรงเรียนจิตรลดา ในบริเวณพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๓ พระชันษาเศษ ทรงมีพระสหายร่วมชั้นเรียน
อีก ๒๐ คน ซึ่งมาจากบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็ก
ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้มาร่วมเรียนด้วยโดยปราศจากชั้นวรรณะ วิชาที่ทรงศึกษา
ในชั้นอนุบาลนี้ คือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขคณิต และขับร้อง พระอาจารย์ที่ถวาย
พระอักษรขณะนั้นได้แก่ อาจารย์ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์, อาจารย์คุณหญิงอังกาบ
บุณยัษฐิติ และอาจารย์คุณหญิงสุนามัน ประนิช ทั้งนี้ปรากฎว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดโรงเรียน พระอาจารย์ และ
พระสหายเป็นอันดี
เมื่อทรงเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ได้ทรงสอบร่วมกับนักเรียนทั่วประเทศ
โดยใช้ข้อสอบกระทรวงศึกษาธิการ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงสอบได้ที่หนึ่ง ได้คะแนนรวมร้อยละ ๙๖.๖๐ อันเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่เจ็ด จึงทรงได้รับพระราชทานรางวัลเรียนดีจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๓๑ ณ
กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๑๑ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นี้ เป็นที่ทราบกัน
โดยทั่วไปว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาสามารถ
ในวิชาแทบทุกด้าน เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รำไทย
ดนตรีไทย และวาดเขียน เป็นต้น ซึ่งมักจะทรงได้คะแนนมากว่าพระสหายในชั้นเดียวกัน
อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังโปรดทรงหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และทรงพระปรีชาสามารถ
ในทางร้อยแก้วและร้อยกรองอย่างยิ่ง ทรงเริ่มบทพระนิพนธ์ต่างๆตั้งแต่เมื่อทรง
พระชนมายุได้เพียง ๑๒ พระชันษา เป็นต้นมา บทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์
แพร่หลายในหนังสือหลายเล่ม ตัวอย่างเช่น "อยุธยา" "เจ้าครอกวัดโพธิ์" " ศาสนาเกิดขึ้น
ได้อย่างไร" เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ"พุทธศาสนสุภาษิตคำโคลง"
ซึ่งทรงถอดมาจากภาษาบาลี และ "กษัตริยานุสรณ์" ซึ่งทรงทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนาง
เจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๑๖ (ขณะนั้นสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๘ พระชันษา)
cr บทความ : http://www.cad.go.th/50years/history1.html
cr วิดิโอ : http://www.oknation.net/blog/thaithai/2012/11/29/entry-1